วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556



การปรับแต่งบล็อกเกอร์ 


หลังจากสมัคร Gmail เสร็จ ไปสมัครใช้งาน Blogger.comหรือ Blogspot.com ได้เลย
เครดิต จาก  krukanya

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj48C2Mj5MC3ZkGwoBniA7JxIrJVtDTqDqJAVYXOMr6q9rH21Y5dLSIUR6FXrIbaXn_jDhNYWdIM-2ZUt_thdkcf8dSG4StTeKKYxkrZDD-GxoZTq8IR8pjuEMPE7u2-ity6Tj2HqOflZc/s1600/blogger.png
เอาล่ะทีนี้ เข้าสู่ Blogger กันเลย
ไปที่ BLOGGER



เมื่อ ล็อกอินเข้ามาจะเจอหน้าแบบนี้ค่ะ



บาง
บางที สำหรับคนที่สมครแลเวใช้งานครั้งแรก อาจจะมีการกรอก เบอร์มือถือ เพื่อส่งรหัสยืนยันการทำบล็อกก็อย่าตกใจ
ทำตามที่มันบอกไปเลยคับ


ต่อกันเลย






คลิกเข้าไปก็จะได้ภาพมาดังนี้ค่ะ

 






                                                                     





เมื่อเลือกภาพได้แล้ว คลิกที่ เสร็จสิ้น


ตัวเอย่าง ก็จะได้ภาพพื้นหลังตามที่เราต้องการ


เสร็จแล้วเราสามารถมาเลือกรูปแบบ ของ หน้าบล็อกเรา


ให้เราลองเลือกดูเรื่อยๆนะคะ อันไหนถูกใจ ก็นำมาใช้กับบล็อกเรย
ซึ่งพอเราเลือก ก็จะได้หน้าตาออกมาดังนี้


สำหรับการทำ หัวเรื่องหรือ เฮดดเดอร์นั้นก็ไม่ยาก
(กลับไปที่ เมนูออกแบบ ดูที่มันเขียนวว่า ส่วนหัว  คลิกแก้ไ)



เราก็จะได้เฮดเดอร์ตกแต่งให้กะบล็อกของเรา
จากกนั้น ถ้าเราต้องการ ใส่โค้ตของตกแต่งละก็ ง่ายๆ
ค่ะ


พอบันทึกเสร็จ เราก็จะได้ ไอเทม เสริมบล็อกของเรา
ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา หรือ ปฏิธิน หรือรูปภาพ




ซึ่งเราสามารถใส่ ส่วนประกอบของบล็อกเราได้อีก ซึ่งมีให้เลือก









เห็นไหมล่ะครับง่ายนิดเดียว ถ้าใครไม่เข้าใจอะไรตรงไหน ถามได้นะคะยินดีช่วย และ หาคำตอบให้ ^^

แถม ๆ เมื่อเราสมัคร Gmail แล้ว
เราก็จะมี คลังเก็บภาพขนาดใหญ่ด้วยนะ
ขั้นตอนการเก็บภาพหรือฝากรูปไว้ในเว็บทำได้ดังนี้














เมื่อเสร็จแล้วเราก็จะพบว่า รุปนั้น อยู่ในอัลบัมรูปน่ะเองง เหนไหมล่ะ สมัคร Gmail อันเดียวแต่ทำได้ตั้งหลายอย่างเลย ^^
อันนี้ เว็บ ของแต่ง บล็อกนะคะ
1. เว็บ โค้ด นาฬิกา คลิก
 
2. สอนแต่งบล็อกเพิ่มเติม คลิก
3.โค้ด แต่งบล็อกเพิ่มเติม คลิก
4.ของจุกจิกน่ารัก ไว้แต่งบล็อก คลิก

ถ้านักเรียนเกิดเปลี่ยนใจ ขี้เกียจแต่งบล็อก
เราเอาวิธี แต่งง่ายที่สุดมาเรย
นั่นคือใส่โค้ด
 templates
ให้เซิจ หา คำว่า free templates ในกูเกิ้ลได้เลย
จะขึ้นมาเยอะมากๆ ให้เพื่อนๆเลือกโหลด
พอเราโหลดเสร็จ
ก็เข้าที่การออกแบบเหมือนเดิม




http://www.finalsense.com/services/blog_templates/image/besmellah-template.jpg
เสร็จแล้วก็จะได้ หน้าแม่แบบที่สวยๆค่ะ โดยที่ไม่ต้อลลงมือทำเอง 55

เป็นอันว่า จบการสอนของวันนี้ 555




สวัสดีคค่ะ วันนี้ ครูจะมาสอน วิธีสมัคร Gmail

วิธี การสมัคร Gmail เพื่อเอาไปสมัคร Blogger

ขั้นที่ 1.สมัคร Gmail กันก่อนโดยเข้าไปที่ Google.com

เลือกแทบมุมบนซ้ายที่ Gmail


ขั้นที่ 2 เมื่อเข้ามาสู่หน้าจอนี้ให้คลิกที่ปุ่ม สมัคร



ขั้นที่ 3 บันทึกข้อมูลส่วนตัวของคุณ คือ ชื่อ นามสกุล และชื่อที่จะใช้เป็นอีเมล์ เช่น krukanya2557@gmail.com เป็นต้น จากนั้นค่อยกดปุ่มเช็คดูว่า อีเมล์ นี้มีคนใช้หรือยัง หากมีคนใช้แล้วก็พิมพ์ชื่อใหม่ลงไปค่ะ
หมายเหตุ: จดไว้ด้วยนะคะว่า อีเมล์ ของตนเองคืออะไร?





ขั้นที่ 4 ใส่รหัสผ่านในการเข้าใช้ อีเมล์ 2 ครั้ง และ ต้องเป็นข้อมูลเหมือนกัน
หมายเหตุ: ให้จดด้วยนะครับว่ารหัสผ่าน อีเมล์ ของตนเองคืออะไร เพราะมันต้องใช้ค่ะ?

ขั้นที่ 5 เลือกคำถาม และพิมพ์คำตอบ อันนี้จะใช้เมื่อเราลืมรหัสผ่านค่ะ


ขั้นที่ 6 ช่องอักษร anti robot พิมพ์อักขระตามที่ระบบสุ่มขึ้นมาให้ค่ะ

ขั้นที่ 7 กดปุ่มยอมรับการใช้งาน เราก็จะมี อีเมล์ เป็นของตัวเองค่ะ

ขั้นที่ 8 การใช้งาน เปิดหน้า Google

มุมบนซ้าย จะมีเมนู ของ Google ให้หา Gmail แล้ว กดล๊อคอิน ด้วย อีเมล์ ที่เราลงทะเบียนไว้ได้เลยค่ะ

การศึกษา :
-ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก อุตสาหกรรมศิลป์
 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม  พิษณุโลก
การอบรมพิเศษ : 
• การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
• การใช้โปรแกรมประยุกต์ MS-OFFICE 2007 และการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Dreamwaver โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
• ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
• ศึกษาดูงานด้านกิจกรรมนักเรียน
•  การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
• ศึกษาดูงานด้านการจัดการความรู้ 
ความสามารถทางภาษา :อังกฤษ 
ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ : 
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรม Windows XP, Microsoft Office 2003, 2007ได้แก่ Microsoft Excel, Microsoft Word, Microsoft PowerPoint , INTERNET
 E-Book และ โปรแกรมผลิต สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม โดยใช้โปรแกรมมัลติมีเดีย Toolbook , การสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการออนไลน์
ประวัติการทำงาน :
2536 – 2541 
2544 – ปัจจุบัน 

ผลงานเด่น :
• บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ :
• สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย :
• วิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของนักเรียนที่เรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบการสอน วิชา ICT 5

ในปี 2556 นี้ “วันไหว้ครู”ของ โรงเรียนจ่าการบุญ  ตรงกับพฤหัสบดี 2556 ค่ะ .. แต่เดี๋ยวนี้บางคนอาจไม่ค่อยทราบและไม่เห็นถึงความสำคัญของครูซักเท่าไร.. อาจเป็นเพราะยุคสมัยและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป หรืออะไรก็แล้วแต่..คนเป็นครูก็ไม่เคยหวังอะไรจากลูกศิษย์..นอกจากความหวังดีอย่างจริงใจ บางคนเปรียบเทียบครูเหมือนเรือจ้าง.. แต่ว่าครูว่าน่าจะเหมือนมอเตอร์ไซต์รับจ้างมากกว่า.. เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนเราสามารถถามจากมอเตอร์ไซต์รับจ้างได้.. นั่นคือต้องรอบรู้ไปซะทุกเรื่อง และทันคน.. พอไปส่งอาจต้องหาทางลัดให้อีก เพื่อให้ไปถึงที่หมายโดยเร็ว..จะได้ไม่สิ้นเปลืองเวลา พอถึงที่หมายก็ค่อยรับเงิน..นั่นคือไม่มีการไปส่งฟรีเหมือนเมื่อก่อน.. ทุกอย่างเลยดูเหมือนเป็นธุรกิจไปซะหมด.. แต่มอเตอร์ไซต์รับจ้างก็ต้องเหนื่อยและเสี่ยงภัยบนท้องถนนอยู่ทุกวัน…
       ว่าไปแล้วก็เลยนำความรู้เกี่ยวกับวันครูมาฝากกันค่ะ..  ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น "วันครู" และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ 
        ความหมายของครู 
        ครู หมาย ถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศ ชาติ 
         ความสำคัญของครู 
        ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี 
ครู จึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง 
ประวัติความเป็นมา 
              วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู 
ทุก ปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา 
พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า 
"ที่ อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" 
จาก แนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูกับประชาชน 
คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดย ถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว 
          งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
          บทสวดเคารพครู 
(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา 
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ 
         (สวดทำนองสรภัญญะ) 
(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์ 
โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์ 
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน 
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน 
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน 
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม 
ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม 
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ 
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร 
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม 
(กราบ) 
รายชื่อประเทศที่มีวันครู 
          ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด 
          - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน 
          - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม  
          - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน 
         ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด 
          - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม  
          - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน  
          - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม  
          - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม  
          - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน  
          - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม  
          - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม  
          - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน  
          - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม  
          - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม  
          - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน  
          - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม  
          - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม  
         
 - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน